
ภาษาไทย
วันพุธที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2560
การวิจักษ์วรรณคดี
การวิจักษ์วรรณคดี หมายถึง การอ่านวรรณคดี โดยใช้ความคิดพิจารณาไตร่ตรอง กลั่นกรองแยกแยะและแสวงหาเหตุผล เพื่อประเมินคุณคาของวรรณคดีไดอยางมีเหตุผล และพิจารณาไดว่าหนังสือแต่ละเรื่องแต่งดีแต่งด้อยอย่างไร ใช้ถอยคำและสำนวนภาษาได้ไพเราะหรอลืกซึ้งเพึ้ยงใดใหคุณค่า ความรูข้อคิดและคติสอนใจ หรอถ่ายทอดให้เห็นสภาพชีวิต ความคิด ความเชื่อของคน ในสังคมอยางไร อ่านเพิ่มเติม

บทอาขยาน
บทอาขยาน
( ๑ )
มาถึงบางธรณีทวีโศก ยามวิโยคยากใจให้สะอื้น
โอ้สุธาหนาแน่นเป็นแผ่นพื้น ถึงสี่หมื่นสองแสนทั้งแดนไตร อ่านเพิ่มเติม
มหาชาติ
มหาชาติ เป็นชาติที่ยิ่งใหญ่ของพระโพธิสัตว์ที่ได้เสวยพระชาติเป็นพระเวสสันดรและเป็นพระชาติสุดท้ายก่อนจะตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า คนไทยรู้จักและคุ้ยเคยกับมหาชาติมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย ดังที่ปรากฏในหลักฐานในจารึกนครชุม และในสมัยอยุธยาก็ได้มีการแต่งและสวดมหาชาติคำหลวงในวันธรรมสวนะ ส่วนการเทศน์มหาชาติเป็นประเพณีที่สำคัญในทุกท้องถิ่นและมีความเชื่อกันว่า การฟังเทศน์มหาชาติจบภายในวันเดียวจะได้รับอานิสงส์มาก อ่านเพิ่มเติม
มงคลสูตรคำฉันท์
มงคลสูตรคำฉันท์ เป็นบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีเนื้อหาว่าด้วยมงคล ๓๘ อันเป็นพระสูตรหนึ่งในพระไตรปฎก พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย หมวดขุททกปาฐะ
ทุกข์ของชาวนาในบทกวี
ความเป็นมาของทุกข์ของชาวนาในบทกวี
บทความเรื่อง ทุกข์ของชาวนาในบทกวี มีที่มาจากหนังสือรวมบทพระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เรื่อง มณีพลอยร้อยแสง ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดพิมพ์ขึ้นเมื่อ พ.ศ.๒๕๓๓ ในวโรกาสที่พระองค์ทรงเจริญพระชนมายุครบ ๓ รอบ โดยนิสิต คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รุ่นที่ ๔๑ อ่านเพิ่มเติม
หัวใจชายหนุ่ม
หัวใจชายหนุ่ม เป็นบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยใช้
พระนามแฝงว่า รามจิตติ เพื่อพระราชทานลงพิมพ์ ในหนังสือพิมพ์ ดุสิตสมิต เมื่อ พ.ศ. 2464 ลักษณะการพระราชนิพนธ์เป็นรูปแบบของจดหมาย มีจำนวน 18 ฉบับ รวมระยะเวลาที่ปรากฏตามจดหมายทั้งหมด 1 ปี 7 เดือน
นิราศนรินทร์คำโคลง
นิราศนรินทร์ ผู้แต่งนิราศนรินทร์ คือนายนรินทรธิเบศร์ (มิใช่ชื่อตัว แต่เป็นบรรดาศักดิ์ในสมัยโบราณ) มีนามเดิมว่า อิน ในตำรารุ่นเก่า มักเขียนเป็น นายนรินทรธิเบศร์ (อิน) ได้แต่งนิราศเรื่องนี้เมื่อคราวตามเสด็จสมเด็จพระบวรราชเจ้า มหาเสนานุรักษ์ยกกองทัพหลวงไปปราบพม่า ซึ่งยกลงมาตีเมืองถลางและชุมพร ในช่วงต้นรัชกาลที่ 2 เมื่อปีมะเส็ง (พ.ศ. 2352) นิราศเรื่องนี้ผู้แต่งไม่ได้ระบุชื่อเอาไว้ แต่เรียกกันโดยทั่วไปตามชื่อผู้แต่ง ว่า “นิราศนรินทร์” อ่านเพิ่มเติม
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)